TKP HEADLINE

แหล่งท่องเที่ยว วัดเขาดิน ชุมชน บ้านหนองมะโมง หมู่ที่ 1 ตำบลหนองมะโมง อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท 17120

 แหล่งท่องเที่ยว วัดเขาดิน  ชุมชน บ้านหนองมะโมง หมู่ที่ 1 ตำบลหนองมะโมง อำเภอหนองมะโมง ฃ

จังหวัดชัยนาท 


     พระธาตุเจดีย์วัดเขาดิน สถานท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอหนองมะโมง ตั้งอยู่ที่ วัดเขาดิน เลขที่ 130 หมู่ที่ 1 บ้านหนองมะโมง ตำบลหนองมะโมง อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ความเป็นมานั้น เมื่อหลายสิบปีก่อน สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชการ สกลมหาสังฆปรินายก ได้ประทานพระธาตุที่นำมาจากประเทศอินเดียให้แด่พระครูอุดมชัยกิจ (หลวงพ่อบุญเกิด ปัณฑิโต) เพื่อมาประดิษฐาน ณ วัดเขาดิน เมื่อปี พ.ศ.2549 นายสุทิน เทพบุตร คหบดีชาวภูเก็ตได้เดินทางมากราบนมัสการหลวงพ่อบุญเกิดปัณฑิโตที่วัดเขาดิน ในช่วงเวลาเดินทางกลับเมื่อรถวิ่งมาระหว่างทางได้ เห็นภาพอัศจรรย์ปรากฏขึ้นอยู่หน้ารถ เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ หุ้มด้วยจีวรล้อมรอบ จึงมีความปลื้มปิติยินดี เกิดศรัทธาเลื่อมใส จากนั้น นายสุทิน เทพบุตร และครอบครัว จึงได้ขอบริจาคเงิน จำนวน 9,000,000 บาท เป็นค่าก่อสร้างเจดีย์ เพื่อบรรจุพระธาตุบนยอดเขา ที่วัดเขาดิน ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วน แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ เมื่อต้นปี พ.ศ.2554 นายอารีย์ ชุ้นฟุ้ง ประธานกรรมการ กลุ่มวังขนาย ได้มีโอกาสเดินทางมาวัดเขาดิน และได้เห็นเจดีย์ดังกล่าว เกิดศรัทธาต่อความคิดของ นายสุทิน เทพบุตร จึงได้เดินทางไปยังจังหวัดภูเก็ตกับนายชูชีพ สุพบุตร นายกเทศมนตรีตำบลหนองมะโมง เพื่อไปพบกับนายสุทิน เทพบุตร เพื่อขออนุญาตสมทบทุนสร้างเจดีย์เพื่อสร้างให้แล้วเสร็จ จากนั้น นายอารีย์ ชุ้นฟุ้ง ประธานกรรมการ กลุ่มวังขนาย จึงได้กราบนมัสการหลวงพ่อบุญเกิด ปัณฑิโต เพื่อขอบริจาคร่วมสมทบทุนก่อสร้างเจดีย์ให้แล้วเสร็จ ปี พ.ศ.2554 เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสมหามงคลอันสำคัญยิ่ง   สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนวังขนาย จำกัด สาขาหนองมะโมง และขบวนการสหกรณ์ทั่วประเทศ พร้อมด้วยประชาชนชาวอำเภอหนองมะโมง รวมทั้งคณะผู้มีจิตศรัทธา จึงได้พร้อมใจกันจัดให้มีการทอดกฐินสามัคคีขึ้น เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2554 เพื่อบอกบุญให้พุทธศาสนิกชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วมทำบุญบริจาคจตุปัจจัยสมทบทุนในการก่อสร้างเจดีย์บรรจุพระธาตุถวายเป็นพุทธบูชา เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง อีกทั้งถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา เจดีย์บรรจุพระธาตุวัดเขาดินได้รับการออกแบบโดย ดร.เขียนศักดิ์ แสงเกลี้ยง อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ งบประมาณการก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ประมาณ 20 บาทล้าน ปัจจุบันเจดีย์วัดเขาดิน เป็นสถานที่สำคัญ และสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ภูมิทัศน์ด้านบนเจดีย์จะสามารถมองเห็นสภาพภูมิประเทศของอำเภอหนองมะโมงได้อย่างชัดเจน อ่านเพิ่มเติม

อาชีพ ช่างไม้ ชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านหนองกระทะ ตำบลสะพานหิน อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท

   อาชีพ ช่างไม้  ชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านหนองกระทะ ตำบลสะพานหิน  อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท


อาชีพ ช่างไม้

ชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านหนองกระทะ ตำบลสะพานหิน อำเภอหนองมะโมง

นายณรงค์ อึ่งขวัญ หรือ ช่างน้อย อายุ 69 ปี หมู่ที่ 8 บ้านหนองกะทะ ตำบลสะพานหิน อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ได้ใช้พื้นที่บริเวณหลังบ้านพักของตนเองทำเป็นโรงงานเล็กๆ ในครัวเรือนเพื่อผลิตหน้าไม้ยิงปลาส่งขายให้กับลูกค้าที่สั่งจองเข้ามาและต้องเร่งมือทำพานท้ายจากไม้เนื้อแข็งขึ้นรูปให้เหมือนกับพานท้ายอาวุธปืนทั่วไปอย่างสวยงามรวมทั้งทำรางส่งลูกดอกซึ่งทำจากอลูมิเนียมที่สั่งทำมาจากโรงเรียนผลิตอลูมิเนียม ก่อนที่จะนำมาเจาะรูตามรูปแบบแล้วประกอบเข้ากับพานท้าย ชุดลั่นไกและชุดปีกโลนเลอร์ สำหรับยึดหนังยางเพื่อเป็นตัวส่งลูกดอกออกจากรางก่อนพุ่งไปยังเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ ซึ่งก็จะได้หน้าไม้ยิงปลาที่เสร็จสมบูรณ์พร้อมส่งขายให้กับลูกค้าทันที สำหรับไม้ที่นำมาทำเป็นพานท้ายของหน้าไม้ยิงปลานั้นจะเป็นไม้เนื้อแข็งที่แห้งแล้วหรือเป็นไม้เก่าเพราะจะทำให้ไม่อยู่ตัวไม่แตกร้าวเวลาทำเสร็จ เช่น ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน และไม้มะริด ซึ่งเป็นไม้จากประเทศพม่า ที่มีรวดลายสวยงามและแข็งแรง ซึ่งในขณะนี้หน้าไม้ยิงปลาของช่างน้อย กำลังเป็นที่ต้องการของลูกค้า จนแทบจะผลิตให้ไม่ทันเพราะเป็นงานฝีมือทำเองล้วนๆ จึงทำให้ชิ้นงานออกมาละเอียดสวยงามเป็นที่ต้องตาของเซียนยิงนก ตกปลาทั้งหลาย จนขณะนี้มียอดสั่งจองหน้าไม้ยิงปลาเข้ามาต่อเนื่องทุกวันเฉลี่ยยอดสั่งจองต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 20-30 กระบอก โดยส่วนใหญ่จะส่งขายทางออนไลน์ในราคากระบอกละ 3,500 – 5,000 บาท ขึ้นอยู่กับรูปแบบและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำ สำหรับลูกค้าที่สนใจหน้าไม้ยิงปลาก็สามารถสั่งจองได้ทางเฟสบุ๊ค น้อย การช่าง หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ อ่านเพิ่มเติม

วัฒนธรรม งานประเพณีห่มพระธาตุ ตักบาตรดอกไม้ เป็นพุทธบูชาวันมาฆบูชา ตำบลท่าฉนวน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

         วัฒนธรรม  งานประเพณีห่มพระธาตุ ตักบาตรดอกไม้ เป็นพุทธบูชาวันมาฆบูชา ตำบลท่าฉนวน 

อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท


      งานประเพณีห่มผ้าพระธาตุ ตักบาตรดอกไม้ เนื่องในวันมาฆบูชา เป็นงานประเพณีที่ชาวบ้านชุมชนบ้านหัวยาง ตำบลท่าฉนวน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเกิดขึ้นจากความร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนที่ได้นำดอกไม้ต่างๆ เช่น ดอกดาวเรือง ดอกมะลิ ดอกกุหลาบ ซึ่งชาวบ้านปลูกไว้จำหน่ายนำไปบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ที่บรรจุในองค์พระธาตุเจดีย์ ณ วัดหัวยาง ตามความเชื่อสมัยพุทธกาลว่า การบูชาพุทธองค์ด้วยดอกไม้จะทำให้เกิดความสุขความเจริญแก่ชีวิต ดังนั้น เพื่อเป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนา และให้ประเพณีตักบาตรดอกไม้สืบทอดต่อไปตราบลูกหลาน ในวันมาฆบูชาปีนี้ ชาวชุมชนบ้านหัวยาง จึงขอเชิญชวนทุกท่านร่วมงานประเพณีห่มผ้าพระธาตุ และตักบาตรดอกไม้ โดยดอกไม้ที่ได้รับการตักบาตร ทางวัดจะนำไปก่อเป็นพระเจดีย์ดอกไม้บูชาองค์พระธาตุทั้ง 4 ทิศ รอบองค์พระบรมสารีริกธาตุ ดังนั้น คนที่มาร่วมทำบุญตักบาตรดอกไม้เท่ากับได้เป็นผู้ร่วมก่อเจดีย์ดอกไม้บูชาองค์พระบรมสารีริกธาตุด้วย 

อ่านเพิ่มเติม

อาชีพ การทอเสื่อก จากภูมิปัญญาสู่อาชีพในชุมชน ตำบลท่าฉนวน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

     อาชีพ  การทอเสื่อก จากภูมิปัญญาสู่อาชีพในชุมชน ตำบลท่าฉนวน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท


“ต้นกก” เป็นพืชธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลท่าฉนวน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท การทอเสื่อกกนั้นนับเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีการสืบสานมายาวนาน โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนของทุกปี ชาวบ้านมักจะใช้เวลาที่ว่างเว้นจากการทำไร่นา มาทอเสื่อกกเพื่อใช้ในครัวเรือน และขายเป็นรายได้เสริม

แต่ปัจจุบันภูมิปัญญาในการทอเสื่อกกเริ่มจางหายไป มีสินค้าจากวัสดุสังเคราะห์เข้ามาแทนการใช้เสื่อกกมากมาย ทำให้กระแสความนิยมในการใช้เสื่อลดลง ขณะเดียวกันคนรุ่นใหม่ก็ไม่ให้ความสนใจ จะเหลือก็เฉพาะคนเก่าคนแก่ที่ยังคงสืบสานการทอเสื่อกกอยู่ไม่กี่หลังคาเรือน อ่านเพิ่มเติม

กล้วยตากพลังงานแสงอาทิตย์ บ้านสระไม้แดง หมู่ที่ 16 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

 

กล้วยตากพลังงานแสงอาทิตย์

บ้านสระไม้แดง หมู่ที่ 16 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท


     นางสุพิทย์ ศรีทอง หรือ แม่อี๊ด ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านสระไม้แดง เล่าว่า บ้านสระไม้แดง มีพื้นที่ในการปลูกกล้วยน้ำว้าเป็นจำนวนมาก เมื่อมีผลผลิตออกมามากช่วงต้นฤดูแล้งกล้วยน้ำว้าราคาจะถูก จึงนำมาตากแต่พบปัญหาเรื่องฝุ่นละอองและแมลงวัน ซึ่งได้รับคำแนะนำจากคุณลมูล จันทร์วงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลให้สร้างโรงอบแสงอาทิตย์โดยใช้พลาสติกใส การสร้างไม่ยากนัก เพียงสร้างโครงไม้แบบกระต๊อบทั่วไป ปูพื้นด้วยพลาสติกสีดำ คลุมด้วยพลาสติกใส ขนาดโรงเรือนกว้าง 2.50 X 4.00 เมตร จำนวนเงินลงทุนประมาณ 5,000 บาท สามารถอบกล้วยตากได้จำนวนมาก ป้องกันฝุ่นละออง และแมลงวันได้ดี ถ้ามีแมลงวันหลงเข้าไปจะตายเพราะอากาศข้างในร้อนมาก ในส่วนของกลุ่มได้ผลิตเดือนละ 150-200 กิโลกรัม อ่านเพิ่มเติม

อาหาร : ขนมไทยคุณโบว์ ชุมชน : บ้านม่วงงาม 88 หมู่ 2 ตำบลโพงาม อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

 อาหาร : ขนมไทยคุณโบว์

ชุมชน : บ้านม่วงงาม 88 หมู่ 2 ตำบลโพงาม อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท


ขนมไทยคุณโบว์” จากธุรกิจสวนผัก สู่เจ้าของกิจการร้านขนมไทยชื่อดังในจังหวัดชัยนาท จากเจ้าของธุรกิจสวนผักปลอดสารพิษสู่เจ้าของธุรกิจขนมไทยชื่อดังในจังหวัดชัยนาท ผู้ที่รักและหลงใหลในการทำขนม ประกอบกับมีสูตรขนมไทยต้นตำรับจากคุณแม่เป็นทุนเดิม ทำให้ “คุณภารดี เพ็งเพียร” หรือคุณโบว์ตัดสินใจเริ่มทำธุรกิจและผันตัวมาเป็นแม่ค้าขนมไทยอย่างเต็มตัว จนมาเป็นเจ้าของธุรกิจร้านขนมไทยคุณโบว์และ ประธานกลุ่มขนมไทยโบราณ ส่งต่อความอร่อยให้กับลูกค้ามายาวนานกว่า 12 ปี

ขนมไทยสูตรโบราณที่ทางร้านขนมไทยคุณโบว์รังสรรค์ขึ้นนั้น ล้วนแล้วแต่ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในบ้านและในชุมชน ซึ่งวัตถุดิบหลักของขนมไทยอย่าง “ใบเตย” คุณโบว์ก็ปลูกไว้ในสวนหลังบ้านของตัวเอง หากจะใช้ทำขนม ก็เพียงตัดแล้วนํามาทำความสะอาด หั่นใบเตยเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนํามาใส่เครื่องปั่น ปั่นใบเตยผสมกับนํ้าจนละเอียด จากนั้นนํามาคั้นและกรองแยกนํ้า จะได้นํ้าใบเตยสด สีเขียวสวยงามและมีกลิ่นหอม พร้อมนำไปทำขนมได้ทันที หัวใจสำคัญของการทำขนมไทยของทางร้านคือ “น้ำตาลโตนดห้วยกรด” ของดีของเด็ดจากชุมชนห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท น้ำตาลโตนดห้วยกรดมีจุดเด่นตรงที่ “มีความหอมหวานไม่เหมือนใคร” ยิ่งถ้านำไปใส่ในขนม ก็ยิ่งทำให้ขนมมีรสชาติดี ได้ทั้งความหอม ความหวานในคราวเดียวกัน ส่วนกะทิ มะพร้าว และธัญพืชต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นถั่วเหลือง เผือก มันม่วง มันแครอท มันผักกาด ฟักทองและข้าวโพด คุณโบว์จะให้สมาชิกกลุ่มแม่บ้านขนมไทยปลูก ก่อนจะรับซื้อและนำมาทำขนมขาย เป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกกลุ่มแม่บ้านขนมไทยอีกทางหนึ่งทางด้วย ทั้งนี้วัตถุดิบต่างๆ ที่สมาชิกกลุ่มแม่บ้านปลูกนั้น จะไม่มีการใช้สารเคมีหรือสารเร่งโตในการปลูก ทำให้ธัญพืชต่างๆ มีความสดสะอาด และดีต่อสุขภาพ ควรค่าแก่การนำมาทำขนมไทยเสิร์ฟคุณลูกค้าได้รับประทาน  อ่านเพิ่มเติม

วัฒนธรรม : ผลิตภัณฑ์จักสานจากวัสดุธรรมชาติ ชุมชน : บ้านโพงาม บ้านเลขที่ 2/1 หมู่ 7 ตำบลโพงาม อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

 วัฒนธรรม : ผลิตภัณฑ์จักสานจากวัสดุธรรมชาติ

ชุมชน : บ้านโพงาม บ้านเลขที่ 2/1 หมู่ 7 ตำบลโพงาม อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท


    เป็นอีกหนึ่งงานศิลปหัตถกรรมที่ชุมชนรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านที่นำวัสดุจากธรรมชาติมาประดิษฐ์จนเป็นชิ้นงาน และนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งในปัจจุบันยังมีการพัฒนามาเป็นเครื่องใช้นานาชนิด และมีรูปทรงที่สวยงาม จนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในการซื้อหา เพื่อนำไปใช้หรือเป็นของฝากขึ้นชื่อของชุมชนบ้านโพงาม ได้แก่ เครื่องจักสานกระจูด หมวกจากกก กระเป๋าผักตบชวา ซึ่งขั้นตอนในการผลิตยังเป็น ภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน และวัตถุดิบที่ใช้ยังหาได้จากธรรมชาติในละแวกชุมชน

คุณยายส้มเช้า ลำเทียน อายุ 84 ปี มีความสนใจในงานจักสาน จึงได้นำวัสดุจากธรรมชาติที่มีอยู่ภายในท้องถิ่นมาทำเป็นงานจักสานสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ มีผลงานเผยแพร่สู่สังคมจนเป็นที่รู้จัก อ่านเพิ่มเติม

แหล่งท่องเที่ยวชุมชน วัดธรรมิกาวาส (วัดค้างคาว) ชุมชน บ้านใหญ่ หมู่ 5 ตำบลโพงาม อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

 แหล่งท่องเที่ยวชุมชน วัดธรรมิกาวาส (วัดค้างคาว)

ชุมชน บ้านใหญ่ หมู่ 5 ตำบลโพงาม อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท



วัดธรรมิกาวาส (วัดค้างคาว) ตำบลโพงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง ห่างจากที่ว่าการอำเภอสรรคบุรี 16 กิโลเมตร หมู่ 5 ตำบลโพงาม อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาทเป็นวัดที่มีป่ายางสูงสลับซับซ้อนมีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก บรรยากาศร่มรื่น มีแม่น้ำน้อยไหลผ่าน และยังมีรูปหล่อของหลวงพ่อเฒ่า ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ ปัจจุบันมีประชาชนไปเยี่ยมชมสวนลิงเพื่อเพลิดเพลินกับธรรมชาติ

ภายในวัดมีป่ายางสูงสลับซับซ้อนจนกลายเป็นที่พำนักของฝูงลิงน้อยใหญ่ สภาพของสวนลิงในปัจจุบันมีฝูงลิงอาศัยเป็นจำนวนมาก ลิงที่นี่เป็นลิงที่อาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ เล่ากันว่า ลิงพวกนี้เป็นลิงที่หลวงพ่อเฒ่าเจ้าอาวาสองค์แรกของวัด ท่านนำมาเลี้ยง ชาวบ้านเล่าว่า เคยมีคนแอบมาขโมยลูกลิงไป ปรากฎว่า โดนนิมิต เป็นหลวงพ่อเม่าไปทวงคืน หลวงพ่อเฒ่าเป็นพระเกจิที่ชาวบ้านเคารพนับถือมานาน คนเก่าๆเล่าสืบทอดกันมาว่าท่านเป็นชาวบางปลาสร้อย จ.ชลบุรี เกิดในสมัยอยุธยา เคยเป็นทหารของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภายหลังสงครามได้บวชเรียนที่ จ.อยุธยา แล้วเดินรุกขมูลไปเรื่อยๆกับสหธรรมิก อีกหนึ่งรูปชื่อหลวงพ่อแป้นรูปร่างขาวสูง ส่วนตัวหลวงพ่อปั้นนั้นรูปร่างล่ำแบบมะขามข้อเดียวผิวคล้ำ โดยร่วมกันบูรณะวัดวาอารามไปทั่ว และเมื่อตอนที่ท่านมาถึงบริเวนแม่น้ำน้อยที่สร้างวัด ก็ได้อธิษฐานด้วยการโยนผ้าอาบไปกระทั่งผ้าอาบปลิวตามลมมาตกในบริเวณดังกล่าว ซึ่งเป็นวัดร้างมาก่อน หลวงพ่อเฒ่าปั้นจึงเริ่มรวบรวมศรัทธาก่อสร้างวัดคังคาวขึ้น ประวัติหลวงพ่อเฒ่า ท่านเก่ามาก เก่าจนเกินกว่าจะสืบค้น จึงไม่เคยปรากฎรูปถ่ายของท่านให้เห็น คงมีเพียงรูปหล่อของท่าน เหลือให้ชาวบ้านและประชาชนทั่วไป กราบไหว้และขอพรจากท่าน เชื่อกันว่าถ้าใครมีเรื่องเดือดร้อน หากไปเคารพสักการะหลวงพ่อเฒ่าแล้วก็จะพ้นจากความทุกข์ร้อนได้ อ่านเพิ่มเติม


อาชีพ : แพะเงินล้าน อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

                                                อาชีพ : แพะเงินล้าน อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท


 จังหวัดชัยนาทเป็นจังหวัดหนึ่งที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงแพะเนื้อ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ต้นทุนการเลี้ยงไม่สูงสามารถเลี้ยงแบบปล่อยให้แพะหาหญ้ากินเอง หรือเลี้ยงแบบปิดในโรงเรือนเพื่อความสะดวกในการดูแล ใช้เวลาเลี้ยงเพียง 4 เดือนก็ขายได้ คุณวิรักษ์ แตงงาม เจ้าของฟาร์มแพะ “วรัญญาฟาร์ม” ตำบลโพงาม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เล่าว่า เมื่อ 30 ปีก่อนตนและภรรยามีอาชีพรับจ้างแบกข้าวเปลือกขึ้นรถบรรทุก ทำงานหนักร่างกายจึงทรุดโทรม แต่มีรายได้เพียงเดือนละ 6,000 บาท ต่อมาได้รับบาดเจ็บจากการแบกข้าวเปลือกจึงมองหาอาชีพใหม่ เห็นเพื่อนทำอาชีพเลี้ยงแพะเนื้อมีรายได้ดีจึงมาศึกษาเรียนรู้ แล้วหากู้เงินมาลงทุนประมาณ 150,000 บาท นำมาสร้างโรงเลี้ยง ซื้อแพะรุ่นแรกมาเลี้ยงประมาณ 40 ตัว จากนั้นแพะก็ออกลูกออกหลาน เพิ่มจำนวนมากขึ้น ใช้เวลาประมาณ 2 ปี จึงปลดหนี้ที่กู้ยืมมาเลี้ยงแพะได้หมด จากนั้นในช่วงกลางปี 2564 จึงเริ่มต้นทำปุ๋ยจากมูลแพะ ส่วนวิธีการผลิตปุ๋ยมูลแพะนั้น กลุ่มได้รับความรู้มาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสูตรปุ๋ยหมักไม่กลับกอง อัตราส่วน 1 ต่อ 4 ส่วน (มูลแพะ 1 เข่ง ฟางก้อน 4 เข่ง) โดยกลุ่มจะผลิตครั้งหนึ่งจำนวนมาก โดยนำมูลแพะจำนวน 1,500 กิโลกรัมมาหมักกับฟาง 500 ก้อน วิธีการ คือ นำฟางมาวางเรียงบนลานกว้างประมาณ 2.5 เมตร ความยาวไม่จำกัด เรียงฟางให้มีความหนาประมาณ 10 เซนติเมตร จากนั้นนำมูลแพะมาเทเกลี่ยให้ทั่วกองฟาง รดน้ำ แล้วนำฟางมาคลุม ใส่มูลแพะ รดน้ำ ทำสลับแบบนี้จนได้กองปุ๋ยหนา 12 ชั้น (กองเป็นรูปสามเหลี่ยม สูงประมาณ 1.5 เมตร) จากนั้นต้องรดน้ำภายนอกทุกวันๆ ละ 1 ครั้ง และรดน้ำภายในทุกๆ 10 วัน โดยเจาะกองปุ๋ยให้เป็นรูทั่วทั้งกอง ห่างกันรูละ 40 เซนติเมตร แล้วรดน้ำลงไปในรู เสร็จแล้วปิดรู ทำแบบนี้ตลอดระยะเวลา 3 เดือน มูลแพะและฟางภายในกองจะย่อยสลาย จากนั้นจึงนำปุ๋ยมากองให้แห้ง แล้วนำมาร่อนเพื่อเอาสิ่งเจือปนออก ขั้นตอนสุดท้ายคือนำมาบรรจุถุงหรือนำมาทำเป็นปุ๋ยอัดเม็ดนำไปใช้หรือจำหน่ายได้ อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านดงคอน วัดโคกดอกไม้ ประจำตำบลดงคอน จังหวัดชัยนาท

                พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านดงคอน วัดโคกดอกไม้ ประจำตำบลดงคอน จังหวัดชัยนาท 


ชุมชน : บ้านดงคอน หมู่ 3 ตำบลดงคอน อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

บ้านดงคอนเป็นบ้านเมืองเก่าแก่ที่มีหลักฐานการอยู่อาศัยต่อเนื่องมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคทวารวดีต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน พบหลักฐานทางโบราณคดีมากมาย ทั้งที่เป็นโบราณวัตถุและภาพถ่ายทางอากาศ ที่แสดงให้เห็นคูน้ำคันดินตามแบบฉบับของบ้านเมืองยุคทวารวดี แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีที่อยู่ใกล้เคียงเช่นบ้านดอนกระเบื้อง เตาเผาแม่น้ำน้อย มีการ ติดต่อค้าขายระหว่างเมืองเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง จึงไม่น่าแปลกใจที่บริเวณพื้นดินบ้านดงคอน จะพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมาย โดยเฉพาะยุคทวารวดี ทำให้พระครูวิจิตรชยานุรักษ์ (หลวงพ่อพร้า) เจ้าอาวาสวัดโคกดอกไม้ ต้องการเก็บรักษาโบราณวัตถุเหล่านี้ให้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้กับชุมชนตนเอง และสร้างพิพิธภัณฑ์เล็กๆ ขึ้นมา

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านดงคอนวัดโคกดอกไม้ก่อตั้งขึ้นเพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุใว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้กับชุมชนบ้านดงคอนที่มีการพบโบราณวัตถุต่าง ๆ จากพื้นดิน เช่น ลูกปัด ตุ๊กตาดินเผา เศษภาชนะ เครื่องปั้นดินเผา เหรียญเงินโบราณ เป็นต้น โดยมีการจัดแสดงเครื่องปั้นดินเผา โอ่งขนาดใหญ่ทั้งโอ่งมังกรเคลือบและโอ่งสังคโลกสีเขียว หินบดยาโบราณ และ เครื่องถ้วยชามกระเบื้องเก่าแก่ ภายในอาคารแบ่งเป็น 2 ส่วน ด้านซ้ายของอาคารเป็นห้องสมุดของการศึกษานอกโรงเรียน และด้านขวาเป็นส่วนจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ อ่านเพิ่มเติม

อาชีพการขยายพันธุ์ไม้เศรษฐกิจ ตำบลดงคอน อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

   อาชีพการขยายพันธุ์ไม้เศรษฐกิจ ตำบลดงคอน อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท


ชุมชน : บ้านทุ่งกระถินพัฒนา หมู่ 16 ตำบลดงคอน อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศให้ มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ เน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่างๆ มุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมี คุณภาพ ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ประชาชนมีรายได้มั่นคง มั่งคั่ง และมีงานทำอย่างยั่งยืน มีความสามารถเชิงการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับสากล ซึ่งจะเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ ประชาชนและประเทศชาติ. อ่านเพิ่มเติม

วัดเขาสารพัดดีศรีเจริญธรรม อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท

                                          วัดเขาสารพัดดีศรีเจริญธรรม อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท 


อำเภอหันคา เป็นอำเภอเล็ก ๆ ในจังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นบ้านเกิดของผู้เขียนเองค่ะ ว่าแล้วก็ทำให้คิดถึงบ้านเลยนะคะ คิดถึงธรรมชาติทุ่งนาสีเขียว ประชาชนส่วนใหญ่ที่นี่จะประกอบอาชีพทำนาเป็นส่วนใหญ่ ถ้าเป็นช่วงฤดูทำนาด้วยแล้วก็จะเห็นทุ่งนาสีเขียวสองข้างทางเห็นแล้วสดชื่นมาก

“วัดเขาสารพัดดีศรีเจริญธรรม” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดไกลกังวล” เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตัวอำเภอมากนัก ขับรถมาจากตัวอำเภอระยะทางประมาณ 5-6 กิโลเมตร พอขับรถเข้ามาถึงด้านหน้าประตูทางเข้าแวะสอบถามเจ้าหน้าที่ด้านหน้าก่อนนะคะว่าวันนี้สามารถขับรถขึ้นไปด้านบนยอดเขาได้หรือไม่ เพราะบางทีประตูบนยอดเขาจะไม่เปิดให้ขึ้นไปค่ะ แล้วถ้าใครต้องการอยากให้อาหารกวางที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ภูเขา ก็สามารถซื้ออาหารได้จากหน้าประตูทางเข้าได้เลยค่ะ ถ้าทางวัดเปิดให้ขึ้นไปบนยอดเขาได้ก็สามารถขับรถขึ้นไปได้เลยค่ะบริเวณด้านบนยอดเขาจะมีถ้ำจำลองด้านในจะประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ และรอยพระพุทธบาทสี่รอย ซึ่งบริเวณด้านในสวยงามมาก ๆ ด้านนอกบริเวณถ้ำสามารถเดินขึ้นไปรับลมเย็น ๆ ชมวิว 360 องศากันได้เลยค่ะ เสร็จจากทำบุญกันแล้ว ก็ขับรถลงมาให้อาหารกวางบริเวณรอบ ๆ ภูเขากันได้เลยนะคะ อ่านเพิ่มเติม

วัดพิชัยนาวาส (วัดบ้านเชี่ยน) อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท

 

                                   วัดพิชัยนาวาส (วัดบ้านเชี่ยน) อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท 


วัดพิชัยนาวาส (วัดบ้านเชี่ยน) เป็นวัดโบราณ ตั้งอยู่เลขที่ 143 หมู่ 10 บ้านบ้านเชี่ยน ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทห่างจากตัวเมืองชัยนาท 38 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 3211 กิโลเมตรที่ 2-3 สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง มีอายุไม่ต่ำกว่า 300 ปี ภายในพระอุโบสถซึ่งสร้างไว้กลางสระน้ำ มีพระประธาน คือ “หลวงพ่อโต” เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ ปั้นด้วยปูนสอ ประทับนั่งห้อยพระบาท สูง 4 เมตร 54 เซนติเมตร สันนิษฐานว่าระหว่างสร้างพระประธานองค์นี้ บ้านเมืองเกิดระส่ำระสายจากสงคราม เพราะเป็นพื้นที่ซึ่งกองทัพจากพม่าเดินทางผ่าน

วัดพิชัยนาวาส(วัดบ้านเชี่ยน) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2502 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยว 80 เมตร เป็นวัดพัฒนาดีเด่น ปี 2530 การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระครูประดิษฐ์ชัยการ สมณศักดิ์เป็นรองเจ้าคณะตำบลบ้านเชี่ยน

วัดกำหนดจัดงานนมัสการปิดทองสมโภชระหว่างเทศกาลวันเพ็ญเดือนสาม และเทศกาลวันเพ็ญเดือนสิบสอง เป็นประจำทุกปี อ่านเพิ่มเติม

แหล่งเรียนรู้ ตำบลศิลาดาน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

                                  

                                       แหล่งเรียนรู้ ตำบลศิลาดาน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท


แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่ เรียน ใฝ่ รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน วัด ครอบครัว ชุมชน องค์การภาครัฐและภาคเอกชน แหล่งข้อมูล ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งการเรียนรู้อื่นๆ เป็นต้น แหล่งการเรียนรู้ตามธรรมชาติ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะหาความรู้ได้จากสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ป่าไม้ ลำธาร กรวด หิน ทราย ชายทะเล รวมทั้ง แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อสืบทอดศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนเทคโนโลยีทางการศึกษาที่อำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ เช่น โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุดประชาชน สถาบันการศึกษา สวนสาธารณะ ตลาด บ้านเรือนที่อยู่อาศัย สถานประกอบการ บุคคล เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ถ่ายทอดความรู้ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม การสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งด้านประกอบอาชีพ ตลอดจนนักคิด นักประดิษฐ์ และผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แหล่งเรียนรู้มีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ ในยุคความรู้ของมนุษย์เกิดขึ้นใหม่ๆ และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนี้ เป็นแหล่งที่มีสาระเนื้อหาที่เป็นข้อมูลความรู้ ให้มนุษย์เกิดโลกทัศน์ที่กว้างไกลกว่าเดิมช่วยให้เกิดความสนใจในเรื่องสำคัญ ช่วยยกระดับความทะเยอทะยานของผู้ศึกษา จากการนำเสนอสาระความรู้ หรือภาพในอุดมคติ หรือเสนอผลสำเร็จและความก้าวหน้าของงาน หรือชิ้นงาน หรือเทคโนโลยี หรือบุคคลต่างๆของแหล่งเรียนรู้ เป็นสื่อการเรียนรู้ การเรียนรู้สมัยใหม่ที่ให้ทั้งสาระ ความรู้ ก่อให้เกิดทักษะและช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้นมากยิ่งขึ้น เป็นแหล่งช่วยเสริมการเรียนรู้ของการศึกษาประเภทต่างๆ ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มนุษย์สามารถที่จะมีปฏิสัมพันธ์ในการหาความรู้ต่างๆ ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา โดยไม่จำกัด เพศ วัย ระดับความรู้ความสามารถ เป็นแหล่งที่มนุษย์สามารถเข้าไปปฏิสัมพันธ์ในการหาความรู้ จากแหล่งกำเนิด หรือแหล่งต้นตอของความรู้ เช่น จากโบราณสถาน โบราณวัตถุ พันธุ์ไม้ พันธุ์สัตว์ สภาพชีวิตความเป็นอยู่ตามธรรมชาติของสัตว์เป็นต้น เป็นแหล่งที่มนุษย์สามารถเข้าไปปฏิสัมพันธ์ให้เกิดประสบการณ์ตรง หรือลงมือปฏิบัติได้จริง เช่น การประดิษฐ์เครื่องใช้ต่างๆ การซ่อมแซมเครื่องยนต์ เป็นต้น ช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนใจความใฝ่รู้ เป็นแหล่งที่มนุษย์สามารถเข้าไปปฏิสัมพันธ์ให้เกิดความรู้ เกี่ยวกับวิทยาการใหม่ๆที่ได้รับการคิดค้นขึ้น และยังไม่มีของจริงให้เห็น เช่น การดูภาพยนตร์ วีดิทัศน์ หรือสื่ออื่นๆ ในเรื่องการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆขึ้นมาใหม่ เป็นแหล่งส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี ระหว่างคนในท้องถิ่นกับผู้เข้าศึกษาในการทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยสร้างความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วม เกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ เป็นสิ่งที่ช่วยเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยมให้เกิดการยอมรับสิ่งใหม่ แนวคิดใหม่ เกิดจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์กับผู้เรียน เป็นการประหยัดเงินของผู้เรียนในการใช้แหล่งเรียนรู้ของชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด  อ่านเพิ่มเติม

อาชีพในท้องถิ่น ตำบลศิลาดาน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

 

                             อาชีพในท้องถิ่น ตำบลศิลาดาน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท


       การจัดการศึกษาอาชีพการส่งเสริมอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมาก โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ จัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งมุ่งผลให้เศรษฐกิจครัวเรือนมีความมั่นคง ประชาชนใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข การเลือกครัวเรือนเป้าหมาย ต้องเกิดจากความสมัครใจ และมีความตั้งใจในการฝึกอาชีพ เพื่อก่อให้เกิด การสร้างอาชีพที่มั่นคง และควรเลือกอาชีพที่เป็นความต้องการของชาวบ้านโดยแท้จริง มีความถนัด มีความรู้ ประสบการณ์ เพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพเป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชนซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ 2564 ภายใต้กรอบเวลา 2 ปี ที่จะพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ใน 5 กลุ่มอาชีพใหม่ ให้สามารถแข่งขันได้ใน 5 ภูมิภาคหลักโลก “รู้เขา รู้เรา เท่าทัน เพื่อแข็งขันได้ในเวทีโลก”ตลอดจนกำหนดภารกิจที่จะยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงโดยเน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่างๆมุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รักการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมีคุณภาพทั่ว ถึง และเท่าเทียมกัน ประชาชนมีรายได้มั่นคง และมีงานทำ อย่างยั่งยืนมีความสามารถเชิงการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับสากลซึ่งเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ประชาชนและประเทศชาติในสภาพปัจจุบันมนุษย์เราได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆเช่น ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากเป็นอย่างมากเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นแต่ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้ไปอย่างรวดเร็วและไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์จะต้องสร้างขึ้นหรือทดแทนโดยวิธีการต่างๆเพื่อการอยู่รอด

อ่านเพิ่มเติม

แหล่งท่องเที่ยว วัดทรงเสวย ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

 

                      แหล่งท่องเที่ยว วัดทรงเสวย ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท  


ชุมชน บ้านหนองแค หมู่ 1 ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

วัดทรงเสวยตั้งอยู่ ณ บ้านหนองแค เลขที่ ๖๓ หมู่ ๑ ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท แต่เดิมเป็นวัดร้างสมัยอยุธยา มีชื่อเดิมว่าวัดเกสร ก่อตั้งขึ้นโดยพระอธิการคล้อย ธมฺมนิยํ และชาวบ้านหนองแค ภายหลังพระอธิการคล้อย ธมฺมนิยํ ท่านได้ตั้งชื่อวัดว่า วัดราษฎร์เจริญธรรม แต่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่าวัดหนองแค ตามชื่อหมู่บ้านมากกว่า ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ (ร.ศ. ๑๒๗) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ เสด็จพระราชดำเนิน ตรวจสอบลำน้ำเก่า โดยทางรถไฟถึง จังหวัดนครสวรรค์ แล้วเสด็จประทับเรือพระที่นั่ง ครุฑเหิรเห็จเพื่อตรวจลำน้ำมะขามเฒ่า (แม่น้ำท่าจีน)ทรงประทับแรมที่วัดหัวหาด อำเภอมโนรมย์ ปัจจุบันเรียกวัดนี้ว่า วัดพิกุลงาม นับเป็นการเสด็จเมืองชัยนาท เป็นครั้งที่ ๓ ต่อจากนั้น วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ เสด็จฯ ตามลำน้ำมะขามเฒ่าผ่านตลาดวัดสิงห์ ลำน้ำมะขามเฒ่าสมัยนั้นเต็มไปด้วยผักตบชวา และตอไม้ ประชาชนจึงได้ช่วยกัน ตัดตอไม้และเก็บผักตบชวา พระองค์ประทับแรมที่ ณ บ้านหนองแค ซึ่งสมัยนั้นขึ้นกับ ตำบลคลองจันทร์ อำเภอเดิมบาง เมืองไชยนาท (ปีพุทธศักราช๒๔๕๒ ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ เมืองชัยนาท ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ในครั้งนั้น พระอธิการคล้อยเป็นเจ้าอาวาส ได้ชักชวนราษฎร์ สร้างพลับพลารับเสด็จ พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ เสวยยอดหวายโปง ตาแป้น มรรคนายกวัดหนองแค (ภายหลังทรงตั้งให้ตาแป้น ดำรงตำแหน่งหมื่นสมาน ขุนมาส) จึงได้ให้ชาวบ้านไปหายอดหวายโปงมาเผาไฟ หยวกกล้วยต้ม น้ำพริกปลามัจฉะมาถวาย พระองค์ทรงเสวยอย่างเจริญพระกระยาหาร และตรัสกับชาวบ้านว่า ต่อไปนี้ให้เรียกวัดนี้ว่า วัดเสวย แต่ชาวบ้านได้ขอพระราชทาน ขอเติมคำว่า “ทรง” ไปด้วย พระองค์ทรงพระอนุญาต ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า “วัดทรงเสวย” จนทุกวันนี้ และเมื่อปีพ.ศ.๒๔๕๒ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช (พระโอรสองค์ที่ ๗๕) ประชวรด้วยโรคไส้ตัน สิ้นพระชนม์ด้วยวัยเพียง ๑๗ พรรษา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ ทรงมีรับสั่งให้ บูรณะวัดทรงเสวย ถวายเป็นพระราชกุลแด่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ ได้ถวายของที่ระลึก แด่พระอธิการคล้อย เป็นของที่ระลึกงานพระศพของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช ของที่ถวาย ได้แก่ บาตร ฝาบาตรมีตราสีทองรูปวงรี มีข้อความว่า ร.ศ. ๑๒๘ งานพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช ปิ่นโตขนาดใหญ่ที่ฝาปิ่นโต มีข้อความเช่นเดียวกับฝาบาตร พระขรรค์ ตาลปัตรใบลาน ตะเกียงลานเรือสำปั้น ป้านน้ำชา ๑ ชุด ตราประจำวัดทรงเสวยแกะด้วยงา และสิ่งอื่นๆ อีกมากมาย สิ่งของเหล่านี้ ปัจจุบันทางวัดยังเก็บรักษาไว้อย่างดี ในปัจจุบันวัดทรงเสวย เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๒๑ ไร่ ๒ งาน ๕๐ ตารางวา พระครูประกาศสรวุฒิ เป็นเจ้าอาวาสวัดทรงเสวย

แหล่งท่องเที่ยว วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

 

                      แหล่งท่องเที่ยว วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท 


ชุมชน บ้านปากคลองมะขามเฒ่า หมู่ที่ 1 ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท


วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตั้งอยู่ที่ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท เป็นวัดที่ตั้งอยู่บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า (แม่น้ำท่าจีน) แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากตัวเมืองชัยนาทประมาณ 25 กิโลเมตร วัดนี้มีความสำคัญ คือ เป็นวัดที่เคยมีพระเกจิอาจารย์ ชื่อดัง เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ซึ่ง ก็ คือ “พระครูวิมลคุณากร (ศุข)” หรือที่ชาวบ้านรู้จักในนาม “หลวงปู่ศุข” ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ ชื่อดังเป็นอาจารย์ของเสด็จใน “กรมหลวงชุมพรเขตตุอุดมศักดิ์” พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 บิดาแห่งกองทัพเรือ เป็นวัดเก่าแก่มีทิวทัศน์ที่สวยงามน่ารื่นรมย์ และมีชื่อเสียงด้านพระเครื่องด้วย

ด้วยตำนานที่ยังเล่าขานกันสืบมาในเรื่องของวิชาอาคมและเครื่องรางของขลัง ความนิยมในพระเครื่องหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่ายังมีอยู่สูงมากในปัจจุบัน แม้ว่าท่านจะมรณภาพไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 แต่ความเคารพศรัทธานั้นไม่เคยเสื่อมคลาย หลวงปู่ศุขยังได้สร้างพระเครื่องที่เรียกว่า หลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งประชาชนนิยมนำไปสักการะบูชา หลวงปู่ศุขได้พัฒนาวัดปากคลองมะขามเฒ่าจนมีความเจริญรุ่งเรือง ด้วยความเมตตาของท่านนั้นทำให้มีลูกศิษย์ลูกหาอย่างมากมาย และท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้จนสิ้นอายุขัยด้วยวัย 76 พรรษา อ่านเพิ่มเติม

แหล่งท่องเที่ยว วัดโฆสิตาราม (วัดบ้านแค) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 9 ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

 

  แหล่งท่องเที่ยว วัดโฆสิตาราม (วัดบ้านแค) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 9 ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท


วัดโฆสิตาราม (วัดบ้านแค) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 9 ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

ถ้านึกถึงสถานที่ท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนานอกจากวัดปากคลองมะขามเฒ่าแล้วยังมีอีกหนึ่งวัดที่สาธุชน ลูกศิษย์ลูกหาจะต้องแวะมานั่นก็คือ "วัดโฆสิตาราม" หรือที่หลายๆคนมักจะเรียกว่า"วัดหลวงพ่อกวย" ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท มีเนื้อที่ 35 ไร่ ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสรรคบุรี 15 กิโลเมตร อายุประมาณ 100 ปีเศษ เดิมเป็นวัดร้าง ชื่อวัดขวิด ตั้งอยู่ในป่า ก่อนหลวงพ่อกวยมีเจ้าอาวาสมาเเล้ว 5 รูป หลวงพ่อกวยเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 6 เหตุที่ชื่อวัดขวิด เพราะเนื่องจากทำเลเป็นที่ดอนเเละมีต้นมะขวิดขึ้นอยู่ เเต่คนเก่าๆเเก่เรียกวัดบ้านเเค ตามชื่อของหมู่บ้านคือบ้านเเค ต่อมาสมัยที่หลวงพ่อกวยเป็นเจ้าอาวาส ท่านจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดโฆสิตาราม สันนิษฐานว่าหลวงพ่อกวยท่านคงมีเเรงบันดาลใจมาจากการที่ท่านได้สร้างพระพุทธพิมพ์ซึ่งมีรูปเเบบเหมือนกับของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆังโฆสิตาราม เเละในการสร้างพระหลวงพ่อยังได้ใช้ผงของสมเด็จโต วัดระฆังเป็นส่วนผสมด้วย ผงวัดระฆังนี้ ลูกศิษย์หลวงพ่อได้ไปบวชที่วัดระฆัง ได้ค้นพบผงนี้เเล้วนำมาถวายหลวงพ่อ เพื่อเป็นรำลึกถึงสมเด็จโต หลวงพ่อจึงเปลี่ยนชื่อวัดใหม่ให้เป็นศิรินามเเละเป็นมงคล  อ่านเพิ่มเติม

วัฒนธรรมลาวครั่งกุดจอก จังหวัดชัยนาท

 

                                                   วัฒนธรรมลาวครั่งกุดจอก จังหวัดชัยนาท 


ชุมชน บ้านกุดจอก หมู่ 1 ตำบลกุดจอก อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท

การแต่งกายของชุมชนวัฒนธรรมลาวครั่งกุดจอกนั้น เป็นแบบฉบับของชาวลาวคลั่งและด้วยความสามารถในการทอผ้าซิ่นตีนจก เมื่อถึงเทศกาลสำคัญผู้หญิงจะใส่ผ้าซิ่นตีนจกเสื้อแขนยาวพร้อมสไบจก สวมใส่เครื่องประดับเงินออกงาน ส่วนผู้ชายจะใส่เสื้อและนุ่งโสร่งพับด้านหน้าแบบหน้านาง คาดเข็มขัดส่วนการแต่งกายสำหรับไปวัดในวันธรรมดาหรือวันพระจะแต่งเพียงเสื้อขาวและผ้าซิ่นตีนจกเท่านั้น

พิธีซ้อนขวัญ การซ้อน หมายถึง การตักเอา ซ้อนเอา ทำพิธีเมื่อคนในหมู่บ้านประสบกับความเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ตกใจ ผวา ทำให้ขวัญหนี เมื่อหายป่วยแล้วจะมีอาการไม่สดชื่นเหมือนปกติ พิธีการซ้อนขวัญจึงเป็นการซ้อนขวัญที่หายไปกลับมา

พิธีสู่ขวัญ เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชุมชนวัฒนธรรมลาวครั่งกุดจอก ที่เชื่อว่าทุกคนเกิดมาพร้อมกับขวัญ การทำพิธีจึงเป็นการนำขวัญที่หายไปให้กลับมาอยู่กับตัว นอกจากนี้ยังเป็นพิธีที่ใช้ในการต้อนรับแขกบ้าน โดยจะมีการทำบายศรี และนำสายสิญจน์ผูกข้อมือ

ลำกลอนฟ้อนแคน เป็นการละเล่นที่มักจะรวมกลุ่มกันเล่น เป็นเครื่องมือในการจีบสาวทำการฟ้อนละเล่นในเวลาเย็น หรือจะเล่นในงานบุญ เช่น งานสงกรานต์หรือเมื่อมีงานแห่ก็จะมีการจัดขบวนฟ้อนรำกลอนฟ้อนแคนอ่านเพิ่มเติม

ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมการทอผ้าโบราณแห่งบ้านเนินขาม จังหวัดชัยนาท

                           

                              ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมการทอผ้าโบราณแห่งบ้านเนินขาม จังหวัดชัยนาท 


ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมการทอผ้าโบราณแห่งบ้านเนินขาม


แหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านเนินขาม

ความตั้งใจของผู้นำชุมชนร่วมกับตัวแทนจากสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชัยนาทในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมแห่งนี้ “ราว พ.ศ. 2559 ความร่วมมือระหว่างสำนักงานท่องเที่ยว ตัวแทนอำเภอเนินขาม และชาวชุมชนผลักดันให้เกิดการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรม ข้อปัญหาสำคัญในตอนนั้น คือการขออนุญาตใช้พื้นที่วัดสำหรับ การจัดตั้ง จึงเกิดการประชาคมและขออนุญาตเจ้าอาวาสวัดเนินขาม จากนั้น มีการทำหนังสือขออนุญาตไปยังสำนักงานพระพุทธศาสนา และในที่สุดได้รับการตอบรับอนุญาต”

เดือนมกราคม 2560 ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเปิดอย่างเป็นทางการ ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ต้อนรับผู้มาเยือนทั้งนักท่องเที่ยว นักศึกษา นักเรียน ในการเข้ามาเรียนรู้วัฒนธรรมการทอผ้าพื้นเมือง นอกจากนี้ ยังเปิดให้เป็นสถานที่ประชุมที่บุคคลภายนอกมาใช้และให้เงินสนับสนุนสำหรับกิจการของศูนย์เรียนรู้

ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ตั้งอยู่ภายในวัดเนินขาม โดยเป็นอาคารชั้นเดียวไม่ไกลจากอุโบสถ พื้นที่หลักภายในอาคารแบ่งเป็น 2 ส่วนอย่างชัดเจน พื้นที่ส่วนแรกเป็นบริเวณสำหรับการจัดประชุม มีการประดับพื้นหลังด้วยไวนิลพิมพ์ภาพ ผ้าทอลาวเวียง และ พื้นที่ส่วนที่สอง ทำหน้าที่เสมือนห้องนิทรรศการนำเสนอชิ้นงานต่างๆ ที่สะท้อนวัฒนธรรม ท้องถิ่นอ่านเพิ่มเติม

วัฒนธรรม สารทลาว ชุมชน บ้านเนินขาม จังหวัดชัยนาท

 

                                   วัฒนธรรม สารทลาว  ชุมชน  บ้านเนินขาม จังหวัดชัยนาท 

 


สารทลาว

ชุมชน บ้านเนินขาม

บ้านเนินขาม ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม เป็นชุมชนเก่าแก่ มีอายุยาวนานหลายร้อยปี สืบทอดกันมาหลาย ชั่วอายุคน สาเหตุที่เรียกว่า เนินขาม เนื่องจากบรรพบุรุษที่ย้ายถิ่นฐานมาตั้งบนเนินสูง น้ำท่วมไม่ถึง บริเวณรอบเนินขาม มีต้นมะขามขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก บรรพบุรุษจึงเรียกเนินนี้ว่า “เนินมะขาม” ต่อมาจึงกลายเป็นชื่อ “เนินขาม” จนถึงปัจจุบัน ในปัจจุบันประชากรของเนินขาม ยังมีการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้ เช่น ประเพณีสงกรานต์ การบายศรีสู่ขวัญ ประเพณีการแต่งงานแบบลาวเวียง ประเพณีการก่อกองทราย ประเพณีธงขึ้น ประเพณีแห่เสื่อ และประเพณีสารทลาว


วัฒนธรรมที่โดดเด่นและสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน คือ วัฒนธรรมการทอผ้าและวัฒนธรรมการแต่งกาย ภาษาที่ ใช้สื่อสารกันในท้องถิ่นยังเป็นภาษา “ลาว” หรือเรียกว่า “ภาษาไทยอีสาน” ประเพณีทั่วไปคล้ายคลึง กับคนไทยใน ภาคกลาง จะมีแตกต่างกันคือ สารทลาว ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี และชาวลาวจะกวนกระยาสารท นำไปเยี่ยมญาติ นอกจากนี้ ในวันที่ 30-31 ธันวาคม ของทุกปี

อ่านเพิ่มเติม

แหล่งเรียนรู้ วัดกลาง หรือ วัดโพธิ์ศรีศรัทธาธรรม อ.มโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

                    

                           แหล่งเรียนรู้ วัดกลาง  หรือ  วัดโพธิ์ศรีศรัทธาธรรม  อ.มโนรมย์ จังหวัดชัยนาท


วัดดกลาง หรือ วัดโพธิ์ศรีศรัทธาธรรม ตามประวัติเล่าขานเริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ “วัดกลาง” ซึ่งเรียกกันตามลักษณะที่ตั้งของวัด เพราะเป็นวัดที่อยู่ตรงกลางซึ่งตั้งระหว่างวัดเหนือกับวัดใต้ แต่ต่อมาในสมัยของพระศรีสิทธิกรรณ์ นายอำเภอมโนรมย์คนแรก ตั้งชื่อวัดให้ใหม่ว่า” วัดโพธิ์ศรีศรัทธาธรรม” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ตามตำนานประวัติหลวงพ่อสามศรี เป็นพระพุทธรูปปางสะดุ้งมาร หรือปางมารวิชัย โดยมี พุทธลักษณะที่งดงาม เนื่องจากมีการผสมผสานพุทธศิลป์หลากยุคหลากสมัย จากการสันนิฐานหลวงพ่อสามศรี สร้างขึ้นในยุคสมัยเชียงแสนและสุโขทัยมีคำกล่าวขานสืบกันมาจากคนรุ่นเก่าๆ ว่า หลวงพ่อสามศรี เดิมชื่อ “หลวงพ่อโยก” มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนอำเภอมโนรมย์ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางเรือที่สำคัญจึงเป็นเหตุให้มีการสัญจรทางเรือเป็นจำนวนมาก และที่ตั้งของวัดนั้นบริเวณหน้าวัดติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อเรือโดยสารหรือเรือสินค้าผ่านไปมาผู้คนก็มักจะยกมือไหว้ตลอด เรือบางลำก็จะวักเอาน้ำหน้าวัดขึ้นมาประพรมเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เรือของตนเอง เพราะถือว่าเป็นน้ำมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโยก

อ่านเพิ่มเติม




แหล่งท่องเที่ยว หมู่บ้านท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเนินขาม จังหวัดชัยนาท

                            แหล่งท่องเที่ยว หมู่บ้านท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเนินขาม จังหวัดชัยนาท 


ชุมชน บ้านเนินขาม

แหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชน ตำบลเนินขาม กล่าวถึงการฟื้นวัฒนธรรมลาวเวียง ที่ระบุว่า บ้านเนินขาม อำเนินขาม จังหวัดชัยนาท เป็นชุมชนลาวเวียงที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวลาวถูกกวาดต้อนมาเป็นจำนวนมาก และตั้งรกรากกระจายอยู่ใน หลายจังหวัดของภาคกลางและอีสาน ตามเส้นทางอพยพ ทั้งนี้ ระบุด้วยว่า ชุมชนดั้งเดิมนั้นอยู่ที่ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และย้ายมาทำมาหากินในแหล่งใหม่ในบ้านเนินขามแห่งนี้ เมื่อกว่า 150 ปีแล้ว


การก่อตัวในการฟื้นฟูวัฒนธรรม

ลูกหลานลาวเวียงที่เรียนรู้การทอผ้าพื้นบ้านกล่าวถึงการทอผ้าลาวเวียงนั้นมีการสืบทอดมาอย่างยาวนานแต่เป็นการทอผ้ากันภายในครัวเรือน มีความพยายามในการจัดกิจกรรมการสืบสานการทอผ้าให้กับเด็กรุ่นใหม่ตั้งแต่ราว พ.ศ. 2528-2529 ณ โรงเรียนอนุบาลของอำเภอ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดในการเอื้อเฟื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ เกิดความพยายามในการพัฒนากิจกรรมตามนโยบายของรัฐบาล “ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้” เรียกว่า ต้นกล้าลาวเวียงในการเชิญผู้อาวุโสที่มีความรู้เกี่ยวกับภาษาลาวเวียง อาหารท้องถิ่น เป็นวิทยากรในกิจกรรม สิ่งที่เกิดต่อเนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวคือ แนวคิดในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ขึ้น ส่งผลให้สมาชิกภายในชุมชนตื่นตัวในกิจกรรมการฟื้นฟูวัฒนธรรมและการทอผ้าลาวเวียงมากยิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเติม

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดชัยนาท. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand