TKP HEADLINE

ชื่อเรื่อง ไม้กวาดดอก อีกหนึ่งอาชีพที่ลดรายจ่าย สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน ชุมชนบ้านโพธิ์เจริญ หมู่ 10 ตำบลหนองมะโมง อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท

 

ชื่อเรื่อง   ไม้กวาดดอก อีกหนึ่งอาชีพที่ลดรายจ่าย สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน       

ชุมชนบ้านโพธิ์เจริญ หมู่ 10 ตำบลหนองมะโมง อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท


การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมากเพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพเป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชนซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ 2564 ภายใต้กรอบเวลา 2 ปี ที่จะพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ใน 5 กลุ่มอาชีพใหม่ ให้สามารถแข่งขันได้ใน 5 ภูมิภาคหลักโลก รู้เขา รู้เรา เท่าทัน เพื่อแข็งขันได้ในเวทีโลก”ตลอดจนกำหนดภารกิจที่จะยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงโดยเน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่างๆมุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รักการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมีคุณภาพทั่วถึง และเท่าเทียมกัน ประชาชนมีรายได้มั่นคง และมีงานทำ อย่างยั่งยืนมีความสามารถ เชิงการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับสากลซึ่งเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ประชาชนและประเทศชาติในสภาพปัจจุบันมนุษย์เราได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆเช่น ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากเป็นอย่างมากเมื่อจานวนประชากร เพิ่มขึ้น แต่ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้ไปอย่างรวดเร็วและไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์จะต้องสร้างขึ้นหรือทดแทนโดยวิธีการต่างๆเพื่อการอยู่รอดในชุมชนตำบลหนองมะโมง โดยกลุ่มอาชีพที่ตั้งขึ้นเอง ในหมู่ที่ 10 บ้านโพธิ์เจริญ ตำบลหนองมโมง มีการรวมกลุ่มจัดทำไม้กวาดดอกหญ้าเพื่อเป็นการหารายได้เสริมอีกทางหนึ่งของชุมชน และเป็นการฝึกฝีมือและทำอาชีพของกลุ่ม โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีในท้องถิ่นของตัวเอง ปัจจุบันภูมิปัญญาชาวบ้านได้ก่อเกิดและสืบทอดกันมาในชุมชนหมู่บ้าน เมื่อหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสังคมสมัยใหม่ ภูมิปัญญาชาวบ้านก็มีการปรับตัวเช่นเดียวกัน ทำให้วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้มีการปรับเปลี่ยนด้วยเช่นกันบางพื้นที่ จากวัสดุด้ามที่เป็นไม้ไผ่เริ่มมีการใช้เป็นด้ามพลาสติก อ่านเพิ่มเติม

วัดมหาธาตุ วัดเก่าแก่โบราณคู่เมืองแพรก จังหวัดชัยนาท

                                        วัดมหาธาตุ วัดเก่าแก่โบราณคู่เมืองแพรก จังหวัดชัยนาท 



“วัดมหาธาตุ” ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางเมืองสรรคบุรี ริมฝั่งแม่น้ำน้อย เป็นวัดเก่าแก่โบราณคู่เมืองแพรกหรือเมืองสรรค์ เดิมมีชื่อว่า “วัดพระธาตุ หรือ  วัดหัวเมือง” ตามประวัติวัดมหาธาตุสร้างขึ้นในสมัยใดหรือใครเป็นผู้ก่อสร้างนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด จากที่สังเกตุพิจารณาจากรูปแบบสถาปัตยกรรมที่อยู่ภายในวัด น่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ประกอบกับวัดหลักคู่บ้านคู่เมือง สันนิษฐานว่าผู้ครองเมืองในสมัยนั้นเป็นผู้ก่อสร้างขึ้น วัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีความสำคัญเพราะปรากฏลักษณะทางสถาปัตยกรรม

อ่านเพิ่มเติม


ตลาดโพนางดำ-ตลาด 100 ปี ของชาวจีนโพ้นทะเล จังหวัดชัยนาท

                          ตลาดโพนางดำ-ตลาด 100 ปี ของชาวจีนโพ้นทะเล จังหวัดชัยนาท 


ประวัติความเป็นมาของตำบลโพนางดำตกนั้น เดิมตำบลโพนางดำตก เป็นตำบลขนาดใหญ่และเป็นชื่อของตำบลเพียงตำบลเดียว โดยมีตลาดเป็นแหล่งค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ผู้คนส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตามตำนานของตลาด เชื่อกันว่าในสมัยก่อนมีผู้ก่อตั้งตลาด (ตลาดเทศบาลตำบลโพนางดำในปัจจุบัน) ชื่อว่า "นางดำ" เป็นหญิงชราเจ้าของตลาดผู้มีนิสัยใจดีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ประกอบกับ

บริเวณท้ายตลาดมีตันโพธิ์ศรีมหาโพธิ์ขนาดใหญ่ซึ่งมีอายุเก่าแก่หลายปี นางดำมักจะมาหมั่นดูและรดน้ำพรวนดินให้กับต้นโพธิ์ใหญ่นั้นอยู่เสมอ ๆต่อมานางดำได้เสียชีวิต ชาวบ้านในระแวกนี้จึงได้เรียกชื่อต้นโพธิ์ต้นดังกล่าวตามชื่อผู้ที่มาดูแลต้นโพธิ์ คือ โพนางดำ ซึ่งหมายถึง ต้นโพธิ์ของนางดำนั่นเอง ส่วนคำว่า "ตก" นั้นใช้แบ่งทิศของตำบลโพนางดำเดิม ซึ่งใช้แนวทิศและแม่น้ำเจ้าพระยาแบ่งเขต คือ โพนางดำตก และโพนางดำออก เทศบาลตำบลโพนางดำตก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก จึงได้เรียกชื่อกันต่อมาว่า "โพนางดำตก"

เที่ยวบ้านเพื่อน เยือนวิถีชีวิตชุมชนวัฒนธรรม ภูมิปัญญาลาวครั่งตำบลกุดจอก จังหวัดชัยนาท


เรื่อง เที่ยวบ้านเพื่อน เยือนวิถีชีวิตชุมชนวัฒนธรรม ภูมิปัญญาลาวครั่งตำบลกุดจอก

ชุมชนวัฒนธรรมลาวครั่งกุดจอก  หมู่ที่ 1 ตำบลกุดจอก อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท 17120


           อีกความโดดเด่นของหนองมะโมงที่ควบคู่กับอำเภอใกล้เคียงอย่างเนินขาม เป็นศักยภาพด้านการท่องเที่ยวที่มากับประเพณีและวัฒนธรรมชาติพันธุ์ลาวครั่งบ้านกุดจอก ชาวลาวที่เรียกตัวเองว่า “ลาวครั่ง” ได้มีการอพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณที่มีหนองน้ำที่เต็มไปด้วยจอกแหน เป็นระยะเวลายาวนานมากกว่า 100 ปี และส่วนใหญ่มีอาชีพในการทอผ้าลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์และสามารถผลิตเป็นสินค้าสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดชัยนาทได้อีกแห่งหนึ่ง มีความสำคัญในการสืบต่อและคงไว้ซึ่งประเพณีเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาทั้งการถักการทอ และสานต่อเป็นอาชีพนอกภาคเกษตรกรรมที่สร้างรายได้ให้กับผู้คนในชุมชนได้มากมาย

           ชุมชนวัฒนธรรมลาวครั่งบ้านกุดจอก มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของตนเองไว้อย่างเหนียวแน่น อาทิ ประเพณีบายศรีสู่ขวัญต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยือน ภาษาถิ่น “ภาษาลาวครั่ง”  ดนตรีพื้นเมือง ลำกลอนฟ้อนแคน อาหารท้องถิ่นภูมิปัญญาเกี่ยวกับการทำขนมจีนโบราณ ภูมปัญญาพื้นบ้านในด้านการรักษาด้วยสมุนไพร การนวดแผนโบราณ วิถีชีวิตการทำนาปลูกข้าวตามฤดูกาล  การผลิตข้าวซ้อมมือ

         การแต่งกายด้วยผ้าทอพื้นบ้าน การทอผ้าลวดลายที่มีเอกลักษณ์คือ ผ้าขิด ผ้าจกและผ้ามัดหมี่ ทอผ้าฝ้ายและผ้าไหม ผ้าทอที่ใช้ในพิธีทางศาสนา ผ้าคลุมหัวนาค ผ้าห่อคัมภีร์ ผ้าทอใช้ในชีวิตประจำวัน ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า หมอนน้อย หมอนเท้า ถุงขนมเส้น ฯลฯ

        มีการจัดงานประเพณีสงกรานต์ "ต้อนฮับสังขาร บุญสงกรานต์ปีใหม่ไท"  ประเพณีที่สำคัญของจังหวัดชัยนาท มีศูนย์สาธิตวิถีชีวิตชุมชน ได้แก่ การทอผ้า การสีข้าวและการตำข้าวแบบโบราณ การทำข้าวกล้อง การจักสานไม้ไผ่ และศูนย์แพทย์แผนไทย  เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม

กระยาสาทรกล้วย อีกหนึ่งความอร่อยของตำบลหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท

              ชื่อเรื่อง   กระยาสาทรกล้วย อีกหนึ่งความอร่อยของตำบลหนองมะโมง

        ชุมชน   บ้านดอนใหญ่ หมู่ 5 ตำบลหนองมะโมง อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท

กระยาสารท (/กระยาสาด/) เป็นขนมไทย ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว และน้ำตาล มักทำกันมากในช่วงสารทไทย แรม 15 ค่ำ ปลายเดือน 10 และบางท้องถิ่นนิยมรับประทานกับกล้วยไข่ มีกล่าวถึงในนิราศเดือนว่า ขนมกระยาสารทเป็นขนมโบราณ มีความพิเศษตรงที่เป็นขนมสำหรับงานบุญประเพณีของไทย เรียกได้ว่าเป็นขนมที่มีประเพณี และวันเวลาเป็นของตัวเองชัดเจนมากเลยทีเดียว จนอาจจะทำให้หลายคนนึกสงสัยขึ้นมาได้ ว่าทำไมขนมกระยาสาทรหอมหวานที่เป็นแพเหนียว ๆ นี้ จึงมีความสำคัญมากเสียจนต้องจัดพิธีทำบุญด้วยขนมกระยาสารทเป็นอาหารที่ทำในฤดูสารท

กระยาสารทนี้เนื่องมาจาก ข้าวมธุปายาส ซึ่งเป็นอาหารอินเดียใช้ข้าว น้ำตาล น้ำนม ผสมกัน ซึ่งนางสุชาดาหุงถวายพระพุทธเจ้าส่วนผสมของกระยาสารทไทยมีข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่วลิสง งาคั่วให้สุกเสียก่อน แล้วนำมากวนกับน้ำอ้อยกวนให้เหนียวกรอบเกาะกันเป็นปึก จะทำเป็นกรอบเป็นก้อนหรือตัดเป็นชิ้นๆ เก็บไว้ได้นานทำจากพืชผลแรกได้กระยาสารทเป็นของหวานจัด โดยมากจะกินกับกล้วยไข่สุกทำถวายพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว กระยาสารทกำหนดทรงบาตรที่วิเศษ ในการพระราชพิธีสารทนี้ตกทอดกันมานาน อ่านเพิ่มเติม


ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดชัยนาท. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand